เปลี่ยนความรักของคุณให้เป็นรักมากมาย

เปลี่ยนความรักของคุณให้เป็นรักมากมาย ด้วย Poramez’s love life cycle Model

เมนะได้ไปเจอ บทความของคุณปรเมศวร์ กุมารบุญ‍‍‍‍ ‍ได้พูดถึง ทฤษฎีวงจรชีวิตรัก ซึ่งเมนะคิดว่าน่าสนใจเลยจะเอามาเล่าให้ฟังในรูปแบบของเมนะนะคะ

ในวงจรชีวิตรัก ความรักจะเริ่มที่
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
1.เริ่มจีบกัน
ในช่วงนี้ เป็นช่วงค่อยๆเรียนรู้กันและกัน และค่อยๆก่อความรักขึ้นมา
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
2.ช่วงรักเบ่งบาน
เป็นช่วงที่ทั้ง 2 ตกลงเป็นคู่รักกันแล้ว จับมือ ถือแขน จ๊ะจ๊าหวานฉ่ำ เป็นช่วงที่เส้นกราฟของความรักพุ่งทะยานมากที่สุด
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
3.ช่วงอิ่มตัว
เป็นช่วงที่คู่รัก ยังรักกันอยู่ แต่ไม่ได้หวานฉ่ำเท่ากับช่วงเบ่งบาน
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
4.ช่วงรอยต่อ
ความรักช่วงนี้เป็นช่วงที่เป็นรอยต่อระหว่าง ความรักที่จะตกต่ำลง หรือประคองความรักให้มั่นคงแบบนี้ไปได้เรื่อยๆ หรือจะสามารถเพิ่มปริมาณความรักให้มากขึ้นได้อย่างมากมาย
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
ซึ่งใน ทฤษฎีวงจรชีวิตรัก (Poramez’s love life cycle Model)
ได้บอกเคล็ดลับในการทำให้ความรักของเราเพิ่มขึ้นได้ หลังจากที่ถึงจุดอิ่มตัวไปแล้ว นั้นก็คือ…
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
” ก า ร เ ริ่ ม ต้ น ใ ห ม่ “
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ใช่ให้ไปจีบคนใหม่นะคะ แต่หมายถึงการกลับไปจีบแฟนคนเดิม จีบอีกครั้ง จะเป็นการต่อยอดของความรักเดิม ให้เพิ่มจนเป็นความรักที่มากมายได้นะคะ
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
อยากให้ทุกคนมีความสุขและมีความรักที่สมหวัง
เมนะ จากเพจ สุขพอดี
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
แหล่งอ้างอิง
https://www.gotoknow.org/posts/618576

สมองคุณคิดแบบผึ้งหรือแมลงวัน

คุณคิดแบบ “ผึ้ง” หรือว่า “แมลงวัน”
เรามีคลิปดีๆ ที่สรุปข้อมูลน่าสนใจ ภายใน 1 นาที ลองชมกันดูนะคะ

สำหรับคนมีเน็ตน้อยใช้เน็ตแบบจำกัด
สามารถอ่านข้อมูลด้านล่างแทนได้นะคะ
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
คุณคิดแบบ “ผึ้ง” หรือว่า “แมลงวัน”
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
สมมุติว่าเราจับผึ้งจำนวน 6 ตัว ใส่ในขวด และจับแมลงวัน 6 ตัว ใส่ในอีกขวด จากนั้นวางขวดนอนลง โดยหันก้นขวดไปยังหน้าต่างที่มีแสงสว่างกว่า
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
เราจะพบว่า…กลุ่มผึ้งจะพยายามบินออกทางก้นขวด จนกระทั่งมันตายจากการขาดอาหารหรือว่าหมดแรง
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
ในขณะที่แมลงวัน จะบินวนอยู่ในขวดชนไปชนมา แต่ก็จะค่อยๆทยอยบินหาทางออกมาจากขวดได้ จากฝั่งคอขวด ที่อยู่ตรงกันข้ามกับก้นขวดซึ่งหันไปทางหน้าต่าง
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
ทำไมผลการทดลองจึงออกมาแบบนี้ ?
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ผึ้งเป็นสัตว์ที่ฉลาด มีองค์ความรู้ พวกมันรู้ว่าหากบินไปในทิศทางที่มีแสงสว่าง จะเป็นทางออกจากรัง แต่เมื่อมันต้องมาอยู่ในขวด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ผึ้งไม่เคยประสบมาก่อน
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
มันก็ยังคงเชื่อในความคิดแบบเดิมๆไม่เปลี่ยนแปลง คือ ต้องบินออกทางแสงสว่างเท่านั้น
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
แต่สำหรับแมลงวัน เป็นสัตว์ที่ไม่มีความคิดเป็นตรรกะอะไร ดังนั้นเมื่อมันถูกจับไว้ในขวด มันจึงบินชนผนังขวดแกะทางไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็พบกับทางออก
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า คนฉลาดก็สามารถที่จะพลาดพลั้งล้มเหลวได้ หากมีความรู้แต่ยึดติดกรอบเดิมๆ ในขณะที่ผู้ไม่รู้ หากทำในสิ่งที่แตกต่าง ก็อาจประสบความสำเร็จได้เช่นกัน
‍‍‍‍‍‍ ‍‍
เครดิตจาก
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
https://goo.gl/V8394S